วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำบุญละลายบาป

การทำบุญละลายบาป

                มีปัญหาที่คนทั่วไปสนใจมากอยู่ข้อหนึ่ง คือ การทำบุญล้างบาปหรือทำบุญละลายบาปจะได้หรือไม่ ?
                การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ ใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง เช่น ความชั่วเกิดขึ้นในใจเมื่อความดีเกิดขึ้นความชั่วย่อมถอยไป ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อย ๆ ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้เรียกว่า เอาความดีมาไล่ความชั่วหรือละลายความชั่ว
                อีกอย่างหนึ่งความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้วซึ่งจะต้องมีผลในโอกาสต่อไป ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้นจนท่วมท้นความชั่ว ผลของกรรมชั่วนั้นก็จะค่อย ๆ จางลงจนไม่มีอานุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์ เปรียบเหมือนกรด (เอชิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้ แต่ถ้าเติมด่าง (อัลคอไลน์)    ลงไปเรื่อย ๆ  กรดนั้นก็เจือจางลงจนหมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ
                เปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่งเหมือนเกลือกับน้ำ สมมติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถึงน้ำใหญ่ ๆ ความเค็มจะไม่ปรากฏ แม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นเหมือนไม่มี ที่ทางพระท่านเรียก อัพโพหาริกแปลว่า มีเหมือนไม่มีเรียกไม่ได้ว่ามีหรือไม่มีเหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือในเนื้อไม้ เรารู้ได้ว่ามีความชื้นอันเป็นคุณสมบัติของน้ำ เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา
                เอน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงไปในถังใหญ่ ๆ แล้วเติมน้ำบงไปเรื่อย ๆ โดยไม่เติมเกลือในที่สุดน้ำนั้นจะไม่ปรากฏความเค็มเลย เพราะจำนวนน้ำเหนือจำนวนเกลือมากนัก ข้อนี้ฉันใด การ  ทำความดีละลายความชั่วหรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ ความดีเปรียบเหมือนน้ำ ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน
                เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีพระพุทธภาษิตอ้างอิงดังนี้
                ภิกษุ ทั้งหลายบุคคลบางคนทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นนำเขาไปสู่นรก บางคนทำเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน แต่บาปนี้ให้ผลเพียงในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น (ทิฏฺฐธมฺมเวทนยํ) ไม่ปรากฏผลอีกต่อไป
                บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก?  คือบุคคลผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต มิได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย ใจต่ำ บุคคลเช่นนี้แหละ ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก
                บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อย แต่บาปนั้นให้ผลอันแสบเผ็ดเพียงในชาติปัจจุบันแล้วไม่ให้ผลอีกต่อไป?  คือบุคคลผู้ได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว มีคุณธรรมมาก มีใจใหญ่ อยู่ด้วยคุณมีเมตตาเป็นต้นอันหาประมาณมิได้
                เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำเล็ก ๆ น้ำนี้ย่อมเค็ม เพราะน้ำน้อยแต่ถ้าใส่ก้อนเกลือนั้นลงไปในแม่น้ำคงคา น้ำในแม่น้ำคงคาจะไม่เค็มเพราะก้อนเกลือนั้นเลย เพราะน้ำมีมากฉันใด
                ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเล็กน้อย บาปนั้นนำเขาไปสู่นรก (เพราะเขามีคุณน้อย) บางคนทำบาปเล็กน้อยบาปนี้ให้ผลเพียงในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป (เพราะเขามีคุณมาก) ฉันนั้น
                คนที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงเล็กน้อยเหมือนน้ำในถ้วยเล็ก ๆ เมื่อทำบาป บาปย่อมให้ผลมากส่วนคนมีคุณมากเหมือนน้ำในแม่น้ำ เมื่อทำบาป บาปให้ผลเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่ให้ผลเลยก็ได้ คุณธรรมหรือความดีจึงมีอานุภาพทำลายบาป ล้างบาปไปในตัว
                บุคคลยิ่งมีคุณธรรมสูงมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะล้างบาปหรือละลายบาปก็มีมากขึ้นเพียงนั้น เพราะคุณความดีหรือความบริสุทธิ์ของใจนั้น มีคุณสมบัติอานุภาพในการทำลายบาป ดังพระพุทธภาษิตว่า
                หม้อที่คว่ำ ย่อมคายน้ำออกไม่ทำให้น้ำไหลเอข้าไปข้าในฉันใด ผู้อบรมแล้วทำให้มากแล้วซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ก็ย่อมคายบาปคายอกุศลธรรมออก ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้าไปข้าในฉันนั้น
                ผู้มีกายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด ไม่มีอาสวะคือกิเลสที่หมักหมม นักปราชญ์เรียกผู้สะอาดสมบูรณ์ด้วยความสะอาดเช่นนั้นว่า เป็นผู้ล้างบาปได้
                ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แสดงว่าการทำความดีละลายความชั่วในใจและการทำความดีละลายผลแห่งกรรมชั่วที่ทำลงไปแล้วย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนผู้เคยผิดพลาดได้กลับตัว
                ในเรื่องชีวิตธรรมดา สมมติว่ามีใครคนหนึ่งเคยความเดือดร้อน เจ็บซ้ำใจให้แก่เรา ต่อมาเขารู้สึกตัวรับทำความดีต่อเราและทำเป็นการใหญ่ เราเห็นใจเขา กลับรักเขาให้อภัยในความผิดพลาดของเขา จริงอยู่สิ่งที่เขาทำลงไปแล้วนั้นก็เป็นอันทำแล้วทำคืนไม่ได้ แต่ความดีใหม่ที่เขาทำลงไปเป็นอันมากนั้นย่อมมีผลลบล้างความชั่วได้ นอกจากนั้นยังมีกำไรเสียอีก
                อีกอุปมาหนึ่งเหมือนคนเคยเป็นหนี้เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้วยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมายอย่างนี้เจ้าหนี้ย่อยจะพอใจเป็นอันมากเขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่ การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้ สานการทำดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ และการให้หนี้การทำความดีจึงดีกว่าการทำชั่ว
                อีกตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงปรารภพระองคุลิมาลแล้วตรัสว่า บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม บุคคลเช่นนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก ฉะนั้น
                นี้แสดงว่า บุคคลสามารถละลายหรือล้างบาปกรรมด้วยกุศลกรรมได้
                ความจริงเรื่องนี้ ทำให้ผู้ที่เคยทำชั่วมีกำลังใจในการทำความดี ในการกลับตัวไม่ถลำลึกลงไปในความชั่วคนที่เคยทำความชั่วมา ถ้าเขารู้สึกตัวแล้วและพยายามทำความดี อาจทำความดีได้มากกว่าและเป็นคนดีได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำชั่วมาเสียอีก
                การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไขและตั้งใจว่าจะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสองก็น่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น
                 รวมความว่า ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น บาปย่อมล้างได้ด้วยบุญ กรรมชั่วล้างได้หรือละลายได้ด้วยกรรมดีแต่ต้องใช้เวลานาน กุศลกรรมที่แรง ๆ เช่น อรหัตตมรรค อรหัตตผล  สามารถลบล้างความชั่วในใจได้หมดและมีอานุภาพห้ามผลแห่งกรรมชั่วเก่า ๆ ที่เคยทำมาแล้วได้หมดสิ้น จะได้ผลอยู่บ้างก็เพราะเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น พอท่านนิพพานแล้วผลกรรมต่าง ๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไปหมดสิ้น

กฎแห่งกรรม


กฎแห่งกรรม

                หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต
                ความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือ ?
                ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้น
                สิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใด
                ผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เอง
                ผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป

โครงสร้างเนื้อหาสาระ(Course Outline)

โครงสร้างเนื้อหาสาระ(Course Outline)

เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงได้กำหนดโครงสร้างเนื้อหา (Course Outline) ที่ประกอบด้วยประเด็นสำคัญดังนี้

1.      ความหมายของการเรียนการสอน
2.      ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอน
3.      รูปแบบการจัดระบบกระบวนการเรียนการสอน
4.      การจัดการเรียนการสอนเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
4.1  การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
4.2  การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีและถูกต้อง
4.3  การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดทักษะปฏิบัติ
5.      วิธีการสอน เทคนิคการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
6.      การวางแผนการสอน
7.      การดำเนินการสอนในชั้นเรียน
8.      การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และเพื่อสร้างระเบียบวินัย
9.      การเตรียมประสบการณ์ภาคปฏิบัตอล
9.1  การฝึกเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
9.2  การฝึกทำแผนการสอน
9.3  การฝึกทักษะการสอน
9.4  การทดลองสอน

รายละเอียดเนื้อหาสาระ (Subject Module)

ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

            มีคำที่สำคัญที่จะต้องเข้าใจความหมายอย่างกระจ่างชัดเจน คือ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนดังนี้
            การเรียนหรือการเรียนรู้  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม (พิมพันธ์  เดชะคุปต์, 2542) ในแดนวคิดดังกล่าวนี้ ออซูเบล (Ausubel,1993)ได้อธิบายว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Verbal Learning) จะเกิดขึ้นได้หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีมาก่อน นอกจากนั้น (Bruner, 1965) ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กว่า เด็กเริ่มต้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ต่อไปจึงจะสามารถสร้างจิตนาการหรือสร้างภาพในใจหรือในความคิดขึ้นได้ (Symbolic Stage) ส่วนกาเย่ (Gagne,1965) ได้อธิบายเกี่ยวกับผลของการเรียนรู้ของมนุษย์ว่ามี 5 ประเภท คือ
1.      ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับ คือ การจำแนกการสร้างความคิดรวบยอด การสร้างกฎ และการสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง
2.      กลวิธีในการเรียนรู้ ( Cognitive Strategies) ประกอบด้วยกลวิธีการใส่ใจ การรับและทำความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด
3.      ทักษะทางภาษา (Verbal Information)
4.      ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills)
5.      เจตคติ (Attiude)

การเปลี่ยนแปลงของภาษาในสังคมไทย

การเปลี่ยนแปลงของภาษาในสังคมไทย
                การเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวภาษาเอง และการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก
                การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวภาษาเองเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดตามธรรมชาติ และตามกาลเวลา ภาษาทุกภาษาในโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อกาลเวลาผ่านไป ดังเช่นที่ภาษาไทยในปัจจุบันมีความแตกต่างจากภาษาไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
                ส่วนการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยทางสังคม เช่น การอพยพย้ายถิ่น การติดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่  การแต่งงานข้ามชาติ การตกเป็นอาณานิคม ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ได้รับวัฒนธรรมตะวันตกทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวีถีความเป็นอยู่ ภาษาในสังคมก็ย่อมต้องขยายตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
                การเปลี่ยนแปลงของภาษาอาจจะพิจารณาได้จากมุมมอง 2 มิติ คือ มิติของการลู่ออกของภาษา (linguistic divergence) และมิติของการลู่เข้าของภาษา (linguistic convergnece)

การลู่ออกของภาษา
                การลู่ออกของภาษา หมายถึงการที่ภาษาใดภาษาหนึ่งแตกตัวกลายเป็นภาษาย่อยหลายภาษาหรือการที่ภาษาย่อยต่างๆ ของภาษาใดภาษาหนึ่งพัฒนาความแตกต่างจากกันและกัน จนในที่ก็ไม่เข้าใจกันจนกลายเป็นคนละภาษา สาเหตุของการลู่ออกของภาษาได้แก่ การอพยพย้ายถิ่น หรือการขาดการติดต่อสื่อสารของผู้พูดภาษา
                การลู่ออกของภาษาเน้นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากตัวของมันเอง เมื่อผู้พูดอยู่ห่างกัน ภาษาที่พูดก็พัฒนาไปคนละทาง เวลายิ่งผ่านไป ก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น ภาษาย่อยต่างๆ ของประเทศอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศสและในประเทศแคนาดา ภาษาไทยในประเทศไทยและในถิ่นชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน

การลู่เข้าของภาษา
                การลู่เข้าของภาษา หมายถึงการที่ภาษาตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไปต่างเปลี่ยนแปลงไปจนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นเพราะการสัมผัสภาษา ซึ่งเกิดขึ้นในตัวผู้พูดสองภาษาหรือหลายภาษา การใช้ภาษาสองภาษาหรือหลายภาษาสลับกัน ทำให้ภาษาเหล่านั้นยืมลักษณะซึ่งกันและกัน สภาวะเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นกับคนหมู่หมายและเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ภาษาเหล่านั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากทั้งๆ ที่ไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกัน เช่น ภาษาไทย ภาษาเขมร ภาษามาเลย์ ลู่เข้าหากันจนมีลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนกัน เช่น มีการเรียงคำเหมือนกัน และมีการใช้คำโดด โดยไม่เติมวิภัตติปัจจัย เป็นต้น

การลู่เข้าหากันของภาษาในสังคมไทย
                ภาษาไทยถิ่นต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วยอิทธิพลของการสัมผัสภาษา มีหลักฐานแสดงว่า ภาษาไทยถิ่นใต้ได้ยืมคำในภาษาไทยภาคกลางเข้าไปใช้ แต่ยังเก็บวรรณยุกต์ไว้เช่นเดิม จึงกลายเป็นลักษณะลูกผสม นอกจากนี้ เสียงพยัญชนะที่เป็นลักษณะเด่นของภาษาปักษ์ใต้ เช่น เสียง ฮ ขึ้นจมูก กำลังจะสูญหายไป เพราะคนใต้ (เช่น สงขลา) รับเอาเสียง ง ในภาษาไทยมาตรฐานเข้าไปใช้แทน เช่น ในคำว่า เงิน งู เป็นต้น
                ในภาษาสุพรรณบุรี วรรณยุกต์สูงตก เช่น ในคำว่า หู ขา (ออกเสียงเป็น หู้ ข้า) กำลังจะค่อยๆ หายไป เพราะอิทธิพลของการสัมผัสภาษากับภาษาไทยมาตรฐาน

การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยมาตรฐาน
                ภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีคนใช้มาก และรับผลกระทบจากภายนอกมากที่สุด
                ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ภาษานั้นมีทั้งการเปลี่ยนแปลงและการแปร การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เป็นไปตามกาลเวลา ไม่สามารถจะหวนกลับมาได้อีก เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ศัพท์และความหมาย ดังจะเห็นได้ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่เก็บคำเหล่านี้ไว้ แต่จัดให้เป็นคำโบราณ (โบ) การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับกันในสังคมไทย แต่การแปรภาษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจึงยังถกเถียงกันอยู่ว่า รูปแบบใดควรจะเป็นรูปแบบที่ถูกต้อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การออกเสียง ร ล และการออกเสียงควบกล้ำ ซึ่งสังคมไทยยอมรับว่าเป็นเครื่องหมายแสดงความมีการศึกษา และการมีสถานภาพสูงทางสังคมถึงแม้จะมีผู้ออกเสียง ร ล เหมือนกัน หรือออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ในการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ แต่เมื่อจะสื่อสารอย่างเป็นทางการ ก็ยังยอมรับรูปแบบดังกล่าวอยู่
                ข้อขัดแย้งอีกประการหนึ่งก็คือ การอ่านคำไทยได้ 2 แบบ คือ แบบ ตามหลักและ ตามความนิยมเช่น คำว่า มกราคม อ่านตามหลักว่า มะ กะ- รา คม อ่านตามความนิยมว่า มก กะ - รา คม ในเรื่องนี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ หนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ระบุว่าอ่านได้ทั้งสองแบบ ส่วนงานวิจัยของ อุดม  วโรตม์สิกขดิตถ์ และคณะ ได้ใช้หลักทางภาษาศาสตร์วิเคราะห์ให้เห็นว่า การออกเสียง ตามความนิยมคือ การออกเสียงตามหลักภาษาศาสตร์ และการออกเสียง ตามหลักคือการออกเสียงตามหลักเดิมซึ่งเป็นการออกเสียงแบบเรียงพยางค์ผสมแบบไทย แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาบางกลุ่มที่นิยมแบบใดแบบหนึ่ง แล้วปฏิเสธอีกแบบหนึ่ง
                ข้อขัดแย้งประการสุดท้ายก็คือ การใช้ภาษาไทยปะปนกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลักเลี่ยงมิได้เมื่อคำนึงถึงสภาพสังคมในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ว่า ควรจะให้มีการปะปนอย่างไร และเพียงใดจึงจะเหมาะสม ผู้ใช้ภาษาคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงจะยอมรับการปะปนเช่นนี้ได้ เพราะในอดีต ภาษาต่างประเทศภาษาอื่นๆ ก็เคยเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยแล้ว เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร ฯลฯ แต่เนื่องจากภาษาเหล่านี้ได้เข้ามาสู่ภาษาไทยนอนแล้วและได้กลมกลืนเข้าสู่ระบบของภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาปัจจุบันจึงไม่รู้สึกว่าภาษาต่างประเทศ แต่ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่เข้ามาใหม่ ผู้ใช้ภาษาบางกลุ่มจึงต่อต้าน
                ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันจึงมีความหลากหลายดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ใช้ภาษาจึงควรศึกษา สังเกต และฝึกฝน เพื่อให้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทสรุป
                ภาษาคือเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ การที่จะสื่อสาร ได้ดีมีประสิทธิภาพนั้นก็คือการใช้ภาษาที่สามารถสื่อกันได้รู้เรื่อง ในแต่ละสังคมถึงแม้ว่าจะมีการใช้ภาษาหลายภาษา แต่ก็ย่อมต้องมีภาษาที่สังคมนั้นสื่อสารกันได้รู้เรื่องมากที่สุด ในสังคมโลกภาษาที่ใช้สื่อสารกันในวงการธุรกิจและเทคโนโลยีคงจะไม่มีภาษาใดที่ได้รับความนิยมมากไปกว่าภาษาอังกฤษ แต่ในสังคมไทยไม่มีภาษาใดที่คนไทยจะเข้าใจได้มากไปกว่าภาษาไทย ชาวต่างประเทศที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับคนไทยให้ได้ผลดีที่สุดก็ยังต้องเรียนภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจคนไทยในสังคมไทยได้ แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังต้องมีภาษาไทยเอาไว้สื่อสารกับคนไทย
                คนไทยทุกสาขาอาชีพหนีไม่พ้นที่จะต้องสื่อสารกับคนไทยกันเองด้วยภาษาไทย ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับคนต่างชาติหรือเพื่อแสวงหาความรู้ในโลกกว้างก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการสนับสนุนให้คนไทยเรียนภาษาต่างประเทศ หรือมีความจำเป็นต้องยืมคำภาษาต่างประเทศใหม่ๆ มาใช้ แต่ภาษาที่ใช้สื่อก็ยังคงเป็นภาษาไทยอยู่นั่นเอง ทว่าภาษาไทยในปัจจุบันนี้อาจจะมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกับเมื่อร้อยปีหรือห้าสิบปีก่อน แต่โดยเนื้อแท้ก็ยังคงเป็นภาษาไทยอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาไทยจึงผสมผสานอยู่ในสังคมไทยอย่างแยกไม่ออก นี่คือ บูรณาการแบบธรรมชาติที่ผู้ใช้ภาษาบางคนอาจจะนึกไม่ถึง
                ในด้านการสืบค้น ถึงแม้ว่าข่าวสารข้อมูลในปัจจุบันจะเต็มไปด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ แต่ข้อมูลภาษาไทยก็ยังนับได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ายิ่งต่อคนไทย ในด้านการสืบค้นนี้ ภาษาเขียนนับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง คนไทยในภาคต่างๆ หรือแม้แต่ในภาคเดียวกันก็อาจจะออกเสียงต่างๆ กันไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้รู้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็คือภาษาเขียน โดยเฉพาะการสะกดการันต์ที่อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ฉะนั้นการเขียนคำตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และการสะกดการันต์ตามอักขระวิธีไทยจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
                การเขียน การอ่าน และการพูดภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสมนอกจากจะทำให้สื่อสารและสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้เห็นภูมิปัญญาอันภูมิฐานของผู้ใช้ภาษาอีกด้วย
                เสื้อผ้าซึ่งตัดเย็บอย่างประณีตช่วยเสริมบุคลิกของผู้สวมใส่ฉันใด การใช้ภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสมก็เสริมบุคลิกของผู้ใช้ภาษาฉันนั้น

ธรรมชาติของภาษา

ธรรมชาติของภาษา
                การใช้ภาษา คือการนำภาษามาใช้เพื่อสื่อความหรือสื่อสาร การสื่อความหรือสื่อสารมีผู้เกี่ยวข้องกันสองฝ่ายคือ ผู้ส่งความ กับผู้รับความ หรือผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
            ผู้ส่งความหรือผู้ส่งสารใช้การพูดกับการเขียนเป็นเครื่องมือ ส่วนผู้รับความหรือผู้รับใช้การฟังและการอ่านเป็นเครื่องมือ
            การใช้ภาษาจะมีประสิทธิภาพได้ก็เมื่อทั้งสองฝ่ายเข้าใจความหรือสารได้ตรงตามความต้องการ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อบกพร่องในการใช้เครื่องมือของตน การสื่อความหรือสื่อสารนั้นย่อมมีปัญหา
            มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความพร้อมที่จะ เรียนรู้ และ เลียนแบบ ภาษา ไม่มีเด็กคนใดที่เกิดมาก็สามารถพูดได้ทันที มีแต่ความสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลทางด้านภาษาจากรอบตัวเข้ามา แล้ววิเคราะห์หาหลักว่าภาษาที่ได้รับมานั้นมีลักษณะอย่างไร ถ้าจะสร้างเองจะต้องทำอย่างไร เมื่อรู้หลักแล้วก็มีการจดจำและเลียนแบบข้อมูลที่ได้รับไปเรื่อยๆ มีงานวิจัยที่ยืนยันว่า เมื่อเด็กอายุ 6 ขวบ จะสามารถพูดภาษาพื้นเมืองได้ดี (ทั้งนี้รวมทั้งการฟังด้วย) คือ ออกเสียได้ชัดเจนและพูดถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ แต่คำศัพท์ที่รู้อาจจะมีจำนวนจำกัด ส่วนการเขียนการอ่านนั้นจะต้องเรียนกันอย่างจริงจัง
            กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ พ่อแม่ ญาติ พี่น้อง ที่เข้ามาพูดจาด้วยช่วยให้ตัวอย่างประโยค และช่วยเพิ่มคำให้แก่พจนานุกรมในหัวของเด็ก เด็กไทยไปเติบโตเมืองฝรั่ง ได้ข้อมูลเป็นภาษาฝรั่งก็พูดภาษาฝรั่ง เด็กฝรั่งมาเติบโตในเมืองไทย ได้ข้อมูลเป็นภาษาไทย ก็พูดภาษาไทย ถ้าได้ข้อมูลหลายภาษาในเวลาเดียวกัน เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนพูดได้หลายภาษา
            โครงสร้างของประโยคนั้นมีอยู่ไม่มาก คนเราสามารถรับรู้และสร้างประโยคทุกชนิดในภาษาของตนได้ในเวลาไม่นานนัก แต่ข้อมูลทางด้านคำนั้นคนเรามีไม่เท่ากัน แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ประสบการณ์ที่ว่านี้ หมายรวมทั้งครอบครัว การศึกษา สังคม ฯลฯ
เมื่อก่อนนี้คนเรารับข้อมูลกันโดยธรรมชาติ กล่าวคือรับจากครอบครัว โรงเรียน และสังคมในวงแคบเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ ข้อมูลเข้ามาจากแหล่งต่างๆ มากมาย ทั้งโดยธรรมชาติ และผิดธรรมชาติ ความสามารถในการเลียนแบบของมนุษย์ก็ได้ทำงานอย่างเต็มที่ คำที่พ่อแม่ครูอาจารย์ไม่เคยสั่งสอน เด็กก็สามารถที่จะใช้ได้ แต่จะเข้าใจหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เด็กชายวัย 3 – 4 ขวบ เวลาอยู่ในสวนสนุก ก็สามารถจะพูดได้ว่า เอขอควบคุมยานอวกาศ นะฮับหรือเด็กหญิงวัยเดียวกันก็อาจจะพูดกับคุณยายได้ว่า จุนยายจายก มรดก ให้บีไม้ค่ะ ซึ่งพอจะเดากันได้ว่าคงจะได้มาจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรือการ์ตูนนั่นเอง หรือเด็กบางคนก็อาจจะพูดได้ว่า ฮ่วยแซบอีหลีทั้งๆ ที่พ่อแม่ก็พูดแบบนั้นไม่เป็น ซึ่งก็คงจะเดากันได้ไม่ยากว่าเอามาจากไหน นี่คือธรรมชาติของชีวิตปัจจุบันที่แหล่งข้อมูลมีกว้างขวางขึ้นกว่าสมัยก่อน ครอบครัวและโรงเรียนไม่ใช่สถาบันเพียง 2 สถาบันที่จะเป็นแหล่งข้อมูลอีกต่อไป
            ในขณะเดียวกันเด็กบางคนก็ยังมีปัญหาทางด้านภาษาจำกัด ต้องใช้เวลารับภาษาอีกพอสมควรจึงจะใช้ภาษาในสังคมนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม ข้อพิสูจน์ในเรื่องการรับข้อมูลทางภาษาไม่เท่ากันนี้จะเห็นได้ในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งซึ่งให้เด็กอายุไม่เกิน 8 ขวบมาให้คำจำกัดความของคำบางคำ ปรากฏว่าเด็กจะตอบได้ตามประสบการณ์แห่งภาษาของตนเท่านั้น เช่น ดาวเทียมหมายถึง ดาวใส่กระเทียม” “เด็กแก่แดดหมายถึง เด็กที่อยู่ในแดดนานๆเป็นต้น